วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 
     เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นวิธีการทางภาพทางการแพทย์ที่ใช้เทคนิคที่เรียกกันว่า tomography ซึ่งเป็นการสร้างภาพแบบ 3 มิติ คือมี กว้าง ยาว สูง จากชุดของภาพเอกซเรย์ที่ได้ใน 2 มิติ แต่เดิมจะเรียกเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ว่า "electromagnetic imaging (EMI) scan" และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น computed axial tomography (CAT or CT scan) ข้อมูลภาพเอกซเรย์ที่ได้จะถูกสร้างให้มีลักษณะเป็นปริมาตร ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะในการนำเสนอเป็นภาพอวัยวะในมุมมองต่างๆ ได้ตามต้องการ
 ประโยชน์ 
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องทางรังสีวินิจฉัยที่มีประโยชน์ในการประเมินลักษณะทางกายวิภาคของอวัยวะต่างๆ และในด้านการทำงานโดยร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี (สารประกอบไอโอดีน) เพื่อดูการทำงานของเนื้อเยื่อในอวัยวะนั้นๆ และลักษณะของหลอดเลือด ปัจจุบันเป็นการตรวจที่นิยมเนื่องจากใช้เวลาในการตรวจน้อย แต่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีที่ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามด้วยวิวัฒนาการทำให้สามารถแสดงภาพได้ในมุมมองต่างๆ และภาพ 3 มิติ ซึ่งมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      การตรวจที่นิยมส่งตรวจได้แก่ 
สมองศีรษะและลำคอทรวงอกและปอดตับช่องท้องทั้งหมด
          ข้อด้อยคือภาพการตรวจกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งจะให้รายละเอียดได้ในระดับหนึ่ง จึงแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจด้วยเครื่องคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทน

ประวัติ

 ประวัติ      นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ชื่อ Alessandro Vallebona ได้รายงานการใช้เทคนิค tomography ประมาณปีพ.ศ. 2475 แต่การพัฒนาเป็นไปอย่างช้าๆ จนราว พ.ศ. 2514ซึ่งได้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์แล้ว นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญคือ Godfrey Newbold Hounsfield และ Allan McLeod Cormack ร่วมกันพัฒนาเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จนผลิตออกมาเพื่อการค้าในประเทศอังกฤษ และทั้งสองได้รับรางวัล Nobel ร่วมกันในสาขาการแพทย์ในปี พ.ศ. 2522

 แม่แบบเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์     

แม่แบบเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยเป็นเครื่องที่มีตัวรับภาพ 160 จุด และหลอดเอกซเรย์หมุนได้ 180 องศา ซึ่งในการสแกน 1 ครั้ง ต้องใช้เวลาประมาณ 5 นาที และใช้เวลาอีก 2.5 ชม. ในการสร้างภาพบนมินิคอมพิวเตอร์ ต่อมาได้พัฒนาเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสมอง ซึ่งต้องใช้เวลาสแกนภาพละ 4 นาที และใช้เวลาในการสร่างภาพอีก 7 นาที นั่นคือต้องใช้ราว 11 นาทีต่อการสแกน 1 ภาพ และต้องมีระบบถังน้ำที่หุ้มยางไว้ ซึ่งจะช่วยลดพลวัตของรังสีที่จะไปยังตัวรับภาพ จึงจะได้ภาพที่ดี แต่กระนั้นภาพที่ได้ก็ยังมีรายละเอียดที่ต่ำอยู่ โดยเป็นภาพขนาด 80 x 80 pixels. ซึ่งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกได้ติดตั้งที่ Atkinson Morley Hospital เมือง Wimbledon ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ทำการสแกนผู้ป่วยรายแรกในปี พ.ศ. 2515

 เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดภาพตัดขวางพื้นฐาน Conventional Axial CT scanner      

หลอดเอกซเรย์ภายในเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะหมุนเป็นวงรอบผู้ป่วย เพื่อให้ลำรังสีผ่านตัวผู้ป่วย 1 รอบต่อ 1 ภาพที่จะได้ โดยเตียงจะเลื่อนไปทีละตำแหน่ง ภาพ




ที่ได้จะถูกนำมาสร้างเป็นภาพตัดขวางของอวัยวะได้ทีละภาพ 

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบเกลียว Helical or spiral CT     

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบเกลียวได้ผลิตขึ้นในปี 2533 โดยติดหลอดเอกซเรย์และตัวรับภาพไว้บนแกนที่หมุนได้อย่างอิสระ ระหว่างการสแกน เตียงจะเลื่อนไปอย่างเร็ว ทำให้การสแกนอวัยวะปกติใช้เวลาเพียง 20-60 วินาที ซึ่งมีข้อดีเพิ่มขึ้นคือ 
1) ผู้ป่วยกลั้นใจได้ตลอดช่วงการสแกน ทำให้ลดการไหวของภาพได้ 
2) สามารถสแกนร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีได้ 
3) ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีรายละเอียดที่ดีขึ้น และสามารถนำมาสร้างเป็น 3 มิติได้


 เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด Multislice CT      

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด Multislice CT มีแนวคิดคล้ายกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดเกลียวแต่มีวงแหวนตัวรับภาพ 2 วง ซึ่งออกแบบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2536โดยบริษัท Elscint (Haifa) โดยเรียกชื่อว่า CT TWIN ปัจจุบันมีการผลิตออกมาในหลายรูปแบบตามจำนวนตัวรับภาพ โดยเรียกเป็น 4, 8, 16, 32, 40 และ 64 slice ซึ่งทำให้ความเร็วในการสแกนเพิ่มขึ้นอย่างมาก คือราว 3 วินาทีต่อการสแกน 1 รอบ ซึ่งจะได้ภาพตามจำนวนของ slice และได้ภาพละเอียดสูงถึง 0.35 มม. ทำให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในการตรวจภาพของหลอดเลือด ภาพ 3 มิติ และมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการปรับแต่งภาพใน
มุมมองต่างๆ 





เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ชนิด 2 แหล่งกำเนิด Dual-source CT    

  เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 2 แหล่งกำเนิดได้พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Siemens ซึ่งมีแหล่งกำเนิดเอกซเรย์ 2 หลอด และมีตัวรับภาพ 64 แถว จำนวน 2 ชุด ซึ่งได้ออกสู่ตลาดในปีพ.ศ. 2548 มีข้อคือลดมุมของการหมุนของหลอดเอกซเรย์ และได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงขึ้น มีความเหมาะสมกับการตรวจหลอดเลือดหัวใจ การตรวจแคลเซียม และอุปกรณ์เทียมที่ใส่ไว้ในร่างกาย เช่น โครงลวดถ่างขยายหลอดเลือด 
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ชนิด 256+ slice CT           

ในปีพ.ศ. 2550 บริษัทฟิลิปส์ ได้นำเสนอเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 256 slice และบริษัทโตชิบาได้นำเสนอเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 320 slices ความก้าวหน้าในทางเทคนิคกำลังมุ่งไปสู่การลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับ และการได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงสำหรับการตรวจหลอดเลือดและการตรวจการทำงานของสมอง อันตราย ปริมาณรังสี       ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับการขอบเขตการสแกนอวัยวะ รูปร่างของผู้ป่วย จำนวนและความละเอียดในการตัด ซี่งยังต้องแยกระหว่างการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ใหญ่และในเด็ก หากต้องพิจารณาในเชิงปริมาณรังสี การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ และคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ตารางเปรียบเทียบปริมาณรังสี 
อันตราย
ปริมาณรังสี
ตารางเปรียบเทียบปริมาณรังสี

การตรวจปริมาณรังสี (mSv)(milli rem)

 การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีน้อย Low-Dose CT Scan
 การแพ้สารทึบรังสีในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นมักจะมีการฉีดสารทึบรังสีซึ่งเป็นสารประกอบไอโอดีนร่วมด้วย
 เพื่อเปรียบเทียบเนื้อเยื่อก่อนและหลังการฉีด อย่างไรก็ตามจะมีผู้ป่วยบางรายที่สามารถแพ้สารทึบรังสี
 ซึ่งป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนประเภทการตรวจ เช่นการตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเลือกใช้สารทึบรังสีกลุ่มไม่มีประจุ
ซึ่งจะมีอัตราการแพ้ที่น้อยกว่า รวมไปถึงการให้ยาแก้แพ้ล่วงหน้าก่อนการตรวจ ก็จะช่วยลดอาการแพ้สารทึบรังสีได้
กระนั้นผลอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยคือสารทึบรังสีจะขับออกทางไต ดังนั้นจึงมีผลต่อไตด้วย โดยในการฉีดสารทึบรัง
สีจะพิจารณาเฉพาะในผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไตอยู่ในระดับดี (Cr<2)




วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555




ตามหาเด็กหญิง12วุ่น! แชทในเน็ตหายตัวลึกลับ



ตามหา ดญ.12 วุ่น-แชท ในเน็ตหายตัวลึกลับ จากบ้าน ขอนแก่น ญาติหวั่น โดนหลอก มิดีมิร้าย

พ่อค้าร้านข้าวมันไก่ขอนแก่น ขึ้นโรงพักแจ้งความตร.ช่วยตามหาหลานสาววัย 12 ปี หายไปจากบ้าน หลังเล่นอินเตอร์เน็ต แชทกับผู้ชายชื่อ "แมน" อ้างว่าเรียนจบปริญญาโท เป็นเจ้าของร้านเกมส์อยู่กรุงเทพฯ และโทรศัพท์คุยกันไม่กี่วัน ขอออกไปพบเพื่อนสนิทเลยไม่เอะใจ แต่ไม่กลับบ้านมา 2 วันแล้ว หวั่นถูกลวงไปทำมิดีมิร้าย
เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 5 ตุลาคม ร.ต.อ.ปรีชา อรรคฮาต ร้อยเวร สภ.เมือง ขอนแก่น รับแจ้งจากนายอนุกร นครศรี อายุ 34 ปี และ นางธัญญา นครศรี อายุ 24 ปี สามีภรรยา อยู่บ้านเช่าในซอยผู้ใหญ่บ้านเก่า ต.ศิลา อ.เมือง ขอนแก่น มีอาชีพค้าขายข้าวมันไก่ชื่อ "กรุงเทพข้าวมันไก่" ถ.กสิกรทุ่งสร้าง-บ้านดอน ต.ศิลา ว่า หลานสาวเล่นแชททางอินเตอร์เน็ต แล้วถูกหลอกไปจากบ้านที่ขอนแก่น กลัวว่าจะถูกนำพาไปในทางที่ไม่ดี หรือหลอกไปย่ำยี ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยติดตามค้นหาหลานสาวของตนด้วย

นายอนุกรกล่าวว่า หลานสาวตนชื่อ ด.ญ.เฟิร์น (นามสมมติ) อายุ 12 ปี เรียนชั้น ป.6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในตัวเมืองขอนแก่น สูงประมาณ 155 เซนติเมตร ผิวเนื้อดำแดง ผมสั้น เป็นคนหน้าตาดี เป็นนักร้องประจำโรงเรียนที่เรียนอยู่ โดยตนและภรรยาได้รับ ด.ญ.เฟิร์นมาเป็นหลานสาว ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เพราะพ่อของ ด.ญ.เฟิร์น เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนแม่ไปทำงานที่กรุงเทพฯ ชื่อนางพิมพิสา วิศิษฏ์วิทยากร ขายของอยู่ที่แขวงสายไหม เขตสายไหม

นางธัญญาเปิดเผยว่า ช่วงวันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นมา ด.ญ.เฟิร์น ได้ขอไปเล่นคอมพิวเตอร์ในร้านเกมส์ซึ่งอยู่ติดกับร้านข้าวมันไก่ ที่ตนกับสามีขายอยู่ หลังจากนั้นก็แอบไปร้านเกมส์แทบทุกวัน ไม่ยอมมาช่วยขายข้าวมันไก่ จนตนจับได้ว่า ด.ญ.เฟิร์น ไปเล่นแช็ตส่องกล้องเห็นหน้าคนคุยด้วยในคอมพิวเตอร์ในร้านเกมส์ กับคนชื่อ "แมน" ตนจึงซักถามกลับว่าคนชื่อแมนเป็นใคร หลานสาวบอกว่าเป็นคนกรุงเทพฯ เป็นเจ้าของร้านเกมส์แห่งหนึ่งในกทม. และเรียนจบปริญญาโท ซึ่งไม่ทราบว่าอายุนายแมนเท่าไร ตนและสามีจึงห้ามหลานสาวอย่าไปเล่นแชทในร้านเกมส์อีก และห้ามหลานสาวคบกับใครที่ไม่เคยรู้จัก หรือเห็นตัวจริงเพราะจะถูกหลอกไปในทางทำให้เสียหายได้ ซึ่งหลานสาวเชื่อฟังโดยไม่เข้าร้านเกมส์ แต่ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับคนชื่อแมนตลอดทั้งวัน ในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา
นายอนุกรกล่าวต่อว่า เมื่อเช้าวันที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา ตนออกจากบ้านแต่เช้าเพื่อไปซื้อไก่ ด.ญ.เฟิร์น ได้ขออนุญาตไปหาเพื่อนรักที่ชื่อ ด.ญ.ปูเป้ ซึ่งเรียนหนังสือชั้นเดียวกันมีบ้านอยู่ในหมู่บ้านหนองไผ่ ต.ศิลา ตนบอกว่าให้รีบไปรีบกลับ กระทั่งตนกลับมาจากตลาดถึงบ้านก็ยังไม่พบหลานสาว จึงโทรศัพท์เข้าไปที่มือถือของหลานสาวพบว่าปิดเครื่องไปแล้ว จึงรอจนถึงเย็นก็ไปตามหาที่บ้านของ ด.ญ.ปูเป้ ก็บอกว่าหลานสาวไม่ได้มาหา ตั้งแต่โรงเรียนปิดเทอมยังไม่เห็นกันเลย ตนและภรรยาจึงรอหลานสาวจนถึงเช้า วันที่ 5 ตุลาคม หลานสาวก็ยังไม่กลับมาบ้าน เกิดความไม่สบายใจได้ตามหาไปยังบ้านเพื่อนของหลานสาวทุกคน ก็บอกว่ายังไม่พบกันเลย ตนจึงเชื่อว่าหลานสาวถูก นายแมนหลอกไปในทางที่ไม่ดีแล้ว จึงมาแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ติดตามหา ด.ญ.เฟิร์น หรือติดต่อที่โทรศัพท์มือถือหมายเลข 080-179-7949 และ 087-427-6904 โดยจะไปรับด้วยตนเอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อบ่ายวันเดียวกัน มีข้อความส่งเข้าไปที่โทรศัพท์มือถือของนางพิมพิสา แม่ของ ด.ญ.เฟิร์นระบุว่า "ไม่ต้องเป็นห่วงสบายดี" โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ส่ง เพราะเมื่อ นางพิมพิสา โทร.กลับไปเครื่องดังกล่าวปิดไปแล้ว  


#ข่าวจากเว็บ http://hilight.kapook.com/view/29610

วิจารณ์ข่าว

จากที่ดิฉันอ่านข่าวนี้ แสดงให้เห็นถึงภัยสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ตโดยประมาท เชื่อคนง่ายโดยที่ยังไม่เคยเห็นหน้า ทำให้เกิดปัญหามากมายเช่น ผุ้ปกครอง ต้องตามหาเพราะเป็นห่วงลูก  เป็นต้น การแชท หรือเล่นอินเตอร์เน็ต ต้องใช้วิจารณญาณให้มากๆเพราะอาจตกเป้นเหยื่อของ ผู้อื่นได้โดยไม่ทันคาดคิด เมื่อมีคนชักชวนให้ไปไหน ควรปรึกษาพ่อแม่ เพื่อที่จะไม่ให้เกิด ปัญหาตามมา





















วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

lt's me

ชื่อ  นางสาวเกษณีย์  พวงพี่
ชื่อเล่น เติ้ล
เกิด วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2534
กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
คณะพลศึกษา เอกสุขศึกษา กศ.บ ปี3
อีเมลล์ t_i_t_l_e245@hotmail.com
สีที่ชอบ ชมพู